ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักการแพทย์
514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทร 0 2622 5047 โทรสาร 0 2224 2969

Description: D:\พี่จ๋า(พรเพ็ญ)\Bangkok Health Fair\Bangkok Health Fair 2010\BHF 2010 - 1 ต.ค. 53 - 2\BHFอื่นๆ\logo ทั้งชีวิต...เราดูแล\Logo ทั้งชีวิต เราดูแล.jpg

                  สำนักการแพทย์ระดมกำลังจัดทำยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุแคลน

         จากโครงสร้างประชากรของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า แนวโน้มประชากรในสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 65,124,716 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 9,110,754 คน โดยประชากรที่มีทะเบียนราษฎร์อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,692,284 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 859,449 คน คิดเป็นร้อยละ 15.09 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแสดงว่าขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” (population aging) แล้ว
               
          วันที่ 19 ก.พ. 58 เวลา 9.00 น. พญ.กิตติยา ศรีเลิศฟ้า รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสำนักการแพทย์ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 (พ.ศ.2557 – 2560) ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยข้าราชการสังกัดสำนักการแพทย์ ระดับชำนาญงาน และระดับปฏิบัติการ – เชี่ยวชาญ จำนวนทั้งสิ้น 52 คน ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 อาคารสำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ
               
           พญ.กิตติยาฯ กล่าวว่า ผู้สูงอายุเป็นบุคลากรที่มีคุณค่ายิ่ง ทั้งในด้านประสบการณ์ ความรู้ความคิดเห็น แนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ แก่ชนรุ่นหลัง และในปัจจุบันด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเรียกว่า สังคมสูงวัย (aging society) ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งตนเองได้ มีความรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีในการช่วยเหลือครอบครัวและสังคม จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุข และรู้สึกว่าตนเองยังเป็นประโยชน์ต่อสังคม
               
                รศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การบรรยายเรื่อง แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 (พ.ศ.2557 – 2560) เพื่อให้เกิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการ ตามยุทธศาสตร์ ทั้ง 5 แบ่งออกเป็น
                ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งตนเองต่อไปได้นานที่สุด รวมทั้งสามารถมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้แก่ ครอบครัว ชุมชน และสังคม
                ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการสร้างระบบการคุ้มครองในทุกมิติให้แก่ผู้สูงอายุทั้งที่ยังพึ่งตนเองได้และอยู่ในภาวะพึ่งพา
                ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรในกรุงเทพมหานครทุกช่วงวัย เพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของประชากรวัยเด็กและวัยทำงานที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในยามสูงอายุ
                ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการของกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาบุคลากรในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุอย่ามีบูรณาการ
                ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ด้านการประมวล พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้งสูงอายุ และการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และข้อมูลด้านผู้สูงอายุ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ

                สุดท้ายการที่จะให้งานด้านผู้สูงอายุก้าวต่อไปตามแผนฯ ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังและจริงใจจากทุกหน่วยงานเพื่อมหานครแห่งความสุขตามนโยบาย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร


>>>>>>> ดูรูปภาพ <<<<<<   คลิ๊กที่นี้